# T O R T U R E F R E E T H A I L A N D
หลังจากการรอคอยที่ยาวนานกว่าทศวรรษ ร่าง พ.ร.บ. อุ้มหายและซ้อมทรมานฯ ก็ได้รับการประกาศใช้เป็นกฎหมายในที่สุด ขั้นต่อไปคือการตรวจสอบให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
10 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ป้องกันซ้อมทรมานอุ้มหาย
และเหตุผลที่คุณควรใส่ใจ
15 ปีที่ผ่านมา นักพิทักษ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยได้ช่วยกันร่างและผลักดันกฎหมายต่อต้านการซ้อมทรมาน เพื่อทำให้การซ้อมทรมานและการบังคัญสูญหายมีความผิดอาญา และเพื่อช่วยให้เหยื่อได้รับการช่วยเหลือ รวมถึงกำหนดมาตรฐานใหม่ให้กับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
หลังจากถูกเตะถ่วงในรัฐสภามานานกว่าทศวรรษ ในที่สุดกฎหมายฉบับนี้ก็มีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566
หากคุณไม่ได้มีข้อพิพาทกับทางการบ่อยนัก (หรือไม่มีเลย) คุณอาจสงสัยว่าทำไมต้องสนใจกฎหมายนี้ด้วย คุณอาจคิดว่าหากคุณและลูกหลานของคุณประพฤติดีและคบเพื่อนดี คุณก็จะปลอดภัย แต่คุณอาจต้องประหลาดใจหากได้รู้ว่า ระหว่างปี 2560 ถึง 2563 กระทรวงยุติธรรมได้รับคำร้องเรื่องการซ้อมทรมานถึง 258 เรื่อง และการบังคับสูญหาย 5 เรื่อง อย่างไรก็ดี คุณอาจกำลังคิดว่าเหยื่อของการซ้อมทรมานสมควรได้รับความรุนแรงนั้นแล้ว
แต่การทำงานของเราได้ชี้ให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าว่ามันไม่เป็นความจริง สิ่งที่เราสมควรได้รับคือระบบยุติธรรมที่ปกป้องมนุษยธรรมและศักดิ์ศรีของทุกคนที่ถูกคุมขัง ไม่ว่าจะเป็นบุตรหลาน พี่น้อง หรือเพื่อนของเรา หรือไม่ว่าใครก็ตาม
ร่างพระราชบัญญัติต่อต้านการซ้อมทรมาน
หรือร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ทำให้การซ้อมทรมานและการบังคับสูญหายมีความผิดอาญา และบัญญัติบทลงโทษทางอาญาต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ตระหนักถึงหลักการแต่ไม่ดำเนินการเพื่อหยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ปกป้องเหยื่อและผู้เปิดเผยความจริง และไม่ช่วยเหลือเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อให้ได้รับการเยียวยาและชดเชย
ในระดับสากล การซ้อมทรมานหรือการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการบังคับสูญหายเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้
คุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากร่างกฎหมายฉบับสมบูรณ์ได้ที่นี่ ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ.
อย่าลืมผู้ที่สูญหาย
บอกต่อเรื่องราวของพวกเขา
ทวงถามความยุติธรรม
สวัสดีจากที่ใดสักแห่ง
โปสการ์ดชุด ‘สวัสดีจากที่ใดสักแห่ง’ จัดทำขึ้นเพื่อรำลึกถึงผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหาย เพื่อให้กำลังใจครอบครัวที่รอรับการเยียวยาและรอฟังความจริงเกี่ยวกับชะตากรรมของบุคคลอันเป็นที่รัก มาช่วยกันบอกต่อเรื่องราวของพวกเขา และเรียกร้องให้มีการบังคับใช้กฏหมายต่อต้านการซ้อมทรมานฯ
ภาพยนตร์สั้น 3 ตอนนี้ถ่ายทอดเรื่องราวอันลึกซึ้งและงดงามของผู้คนในชายแดนภาคใต้ของไทยที่ต้องเผชิญความท้าทายทุกเมื่อเชื่อวัน ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และบางส่วนของสงขลา และเป็นพื้นที่ที่ยังติดหล่มความขัดแย้งและถูกบดขยี้ด้วยกฎอัยการศึก ภาพยนตร์ชุดนี้เผยให้เห็นความไม่ยอมจำนนของชุมชนท้องถิ่นที่ตกอยู่ใต้เงาของความรุนแรงและการข่มขู่คุกคามที่มาถึงตัวได้ทุกขณะในรูปของการทารุณกรรม การซ้อมทรมาน หรือเลวร้ายกว่านั้น
ภาพยนตร์ “รุ่งสาง”
ชมตัวอย่างภาพยนตร์
ตอนภาพยนตร์
ตอนที่ 1: จุดเริ่มต้น
หน้าต่างที่จะเผยให้เห็นชีวิตประจำวันภายใต้กฎอัยการศึก ความหวาดกลัว และความหวาดระแวงในทุกย่างก้าว
ตอนที่ 2: คำสารภาพ
เรื่องจริงของผู้รอดชีวิตจากการซ้อมทรมานว่าด้วยวิธีการทารุณกรรมที่ถูกนำมาใช้เป็นปกติ
ตอนที่ 3: อิสรภาพ
นักข่าวที่พยายามเปิดโปงความจริงในรัฐที่เสรีภาพของสื่อไม่มีอยู่จริง